นักวิชาการเตือนกินค้างคาวเสี่ยงโรคอันตราย

Bats-risk-disease

น้อยคนที่จะรู้นักว่าหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ของโรคอีโบล่านั้นเริ่มได้อย่างไร ส่วนใหญ่เราจะเห็นได้ตามพื้นเมืองชนบท จนกระทั่งพวกมันลามมาถึงในเมืองใหญ่ สาเหตุก็เพราะในเขตตามชนบทนั้น มักจะมีอาหารการกินแบบพื้นเมืองตามแบบโบราณ โดยบางส่วนก็มีความแปลกประหลาด อย่างเช่นในประเทศไนจีเรีย โดยเฉพาะชาวบ้านบางกลุ่มที่จะออกไปตามล่าค้างคาวผลไม้มากินกัน หรือนำมาขายในตลาด ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นของเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้น จนมีผู้ชีวิตไปกว่า 660 คน ในเวลาเพียง 6 เดือน ความรุนแรงของไวรัสตัวนี้ไม่เป็นที่สงสัยกันนัก เพราะผู้ที่ติดเชื้อจะมีอัตราเสียชีวิตสูงถึง 90% ถึงแม้ว่าจะหายแล้วก็อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้นักวิชาการจากหลายสถาบัน ได้ออกมาเตือนถึงอันตรายเหล่านี้

ทางหัวหน้า FAO ได้ออกมาประกาศเตือนว่า “เราไม่ได้แนะนำให้พวกคุณหยุดการล่าสัตว์โดยสินเชิง เพราะว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราอยากให้ทำอย่างถูกวิธี สิ่งที่ทุกคนไม่ควรทำคือการเข้าใกล้ หรือสัมผัสกับสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ และไม่ควรนำมากิน หรือนำไปขายในตลาด” อีกทั้งยังบอกต่อเพิ่มเติมอีกว่า “นอกเหนือจากนี้ คือการหลีกเลี่ยงล่าสัตว์ที่มีพฤติกรรมผิดธรรมชาติ หรือป่วยซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดี และให้สันนิฐานไว้พวกมันอาจะเป็นอันตรายได้” อย่างไรก็ตามจากการแนะนำของหัวหน้า FAO ที่ให้หลีกเลี่ยงการฆ่า หรือกินค้างคาวผลไม้ นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าพวกมันยังเป็นอาหารโปรดของหลายๆ ชาติ อย่างในแถบแอฟริกาตะวันตกอีกด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้วเชื้อไวรัสนั้น สามารถถูกทำลายได้เมื่อโดนความร้อนสูงจากการทำอาหาร หรือจากการรมควัน แต่ความเสี่ยงในการติดเชื้อเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมอาหารแล้ว เพราะต้องสัมผัสกับเนื้อสดๆ ของพวกมัน โดยเชื้ออีโบลาสามารถแพร่กระจายผ่านทางเลือด หรือของเหลวในร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ นอกจากค้างคาวผลไม้แล้ว ไวรัสยังสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์ชนิดอื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น วานร หนู หรือดุยเกอร์ เชื้อเริ่มระบาดไปสามประเทศโดยมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศกินี ไปยังไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน จนไปประเทศสุดท้ายที่ไนจีเรีย ประชากรกว่า 17.5 ล้านคน โดยมีเจ้าหน้าที่ด้านมนุษย์ธรรมติดเชื้อไวรัสไปสองคนในเหตุการณ์ระบาดครั้งนั้น ในปัจจุบันนี้นักวิจัยยังไม่สามารถหาวิธีรักษาพวกมันได้ แถมยังมีปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของชาวบ้านที่ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับความอันตรายของเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีในสัตว์โดยเฉพาะในค้างซึ่งตอนนี้ก็ยังคงมีการนำมารับประทานกันอยู่ทั่วไป